กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
เว็บเพจหน้านี้สำหรับผู้ดูแลเท่านั้น
รหัส secure
=>
นำตัวอักษร สีขาวบนพื้นแดง มาป้อนในช่องนี้
edit_topic_password =>
<center><table width=90% border=0 bgcolor=#000080><tr><td><font color=white size=4>ไอทีในชีวิตประจำวัน # 262 เปิดหนังสือสอบ</td></tr></table><table width=90% bordercolor=#000080 border=1><tr><td bgcolor=white><br>ไอทีในชีวิตประจำวัน # 262 เปิดหนังสือสอบ ()<br /> การสอบแบบเปิดหนังสือสอบ (Open Book Exam) เป็นเทคนิคการจัดการสอบที่ให้ผู้เข้าสอบสามารถนำเอกสารเข้าห้องสอบได้ อาจนำเข้าทั้งหมด หรือจำกัดปริมาณ เช่น เป็นแผ่น เป็นเล่ม เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของวิชา และเทคนิคการออกข้อสอบเชิงสร้างสรรค์ของผู้สอนที่ต้องการวัดความรู้ ความจำ ความเข้าใจ หรือทักษะในประเด็นที่ต้องการวัดผล เช่น สอบปฏิบัติวิชาว่ายน้ำ สอบเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือสอบทฤษฎีวิชาประวัติศาสตร์ <br /> ข้อดีของการเปิดหนังสือสอบ คือ การเปิดให้ผู้สอนสามารถออกข้อสอบได้กว้าง และลึก ผู้สอบต้องมีทักษะในการประยุกต์ทฤษฎีตามตัวหนังสือมาเป็นการถ่ายทอดความเข้าใจเชิงวิเคราะห์ ตีความ คำนวณ ปฏิบัติได้จริง หรือออกแบบสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น เช่น ออกแบบฐานข้อมูล ตีโจทย์คณิตศาสตร์ ตีความบทกวี หรือวิเคราะห์ปัญหาบริษัทต่างชาติ ซึ่งข้อสอบแบบเปิดหนังสือจะยากกว่าปกติ เพราะผู้ออกข้อสอบต้องประเมินศักยภาพของผู้เรียน แล้วเข้าใจความแตกต่างระหว่างการมีหนังสือกับไม่มีหนังสือในมือผู้เข้าสอบ เนื่องจากไม่มีผู้ออกข้อสอบที่ใช้ข้อสอบแบบปิดหนังสือ (Closed Book Exam) แล้วเปลี่ยนเป็นเปิดหนังสือ โดยไม่เปลี่ยนข้อสอบเป็นแน่<br /> การสอบแบบเปิดหนังสือสอบจะเป็นปัญหากับผู้เรียนบางคน เพราะถ้าไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงในสิ่งที่เตรียมเข้าห้องสอบ หรือไม่มีความชำนาญในเนื้อหา อาจทำข้อสอบแบบเปิดหนังสือไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่ามีในหนังสือ หาไม่พบ จำทฤษฎีไม่ได้ และไม่สามารถประยุกต์ทฤษฎีมาตอบคำถามที่ต้องอาศัยความเข้าใจเชิงวิเคราะห์ ดังนั้นข้อสอบที่ง่ายจึงเป็นข้อสอบแบบปิดหนังสือ แต่ข้อสอบแบบเปิดหนังสือเป็นข้อสอบที่ผู้สอบรู้สึกอุ่นใจ และมักประมาทไม่เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสอบ เมื่อพบข้อสอบที่ออกแบบมาสำหรับเปิดหนังสือสอบก็จะทำไม่ได้ เหมือนกับการค้นข้อมูลผ่าน google.com ถ้าไม่มีทักษะในการสืบค้นมาก่อนก็อาจไม่พบข้อมูลที่ต้องการจาก google.com ก็เป็นได้<br /> <br><br></td></tr><tr><td align=right bgcolor=black><font color=white><small><b>จากคุณ :</b> บุรินทร์ <a href=mailto:></a><a title='122.154.225.4'>.</a><br> 03:24am (27/09/10)</font></td></tr></table></center>